ตรวจเลือดแมว เป็นการใส่ใจสุขภาพของแมวขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เป็นการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ดูค่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด การตรวจค่าเคมีต่างๆ ควรพาแมวมาตรวจสุขภาพ ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายและตรวจเลือดแมว เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าแมวจะไม่มีโรค

ตรวจเลือดแมว พื้นฐานการใส่ใจสุขภาพ

การตรวจเลือดแมว เป็นการใส่ใจสุขภาพน้องแมวขั้นพื้นฐาน และเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม อีกทั้งยังถือเป็นการประเมินสุขภาพน้องแมวเบื้องต้นได้อีกด้วย ซึ่งมือใหม่หรือหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันจำเป็นต้องตรวจเลือดบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 1 ปีเลยจริงหรือ ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้มีที่มาที่ไป ไม่ได้ตรวจเฉยๆ อย่างแน่นอน
โดยการตรวจเลือดแมวจะเน้นไปที่การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ดูค่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด การตรวจค่าเคมีต่างๆ อาทิ การตรวจค่าเอนไซม์ตับ การตรวจค่าไต เจ้าของควรพาน้องแมวมาตรวจสุขภาพ ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายและเข้ารับการตรวจเลือดเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้คุณมั่นใจว่าเจ้าแมวตัวแสบของคุณจะไม่มีโรค หรือปัญหาอะไรแอบซ่อนอยู่ค่ะ  ในท้ายที่สุดแล้ว ปัญหาสุขภาพมากกว่า 80% เกิดจากการเลี้ยงดู ความเอาใจใส่โดยเฉพาะอาหารที่เขากินอยู่ทุกวัน มาเปลี่ยนสุขภาพแมวให้ดีขึ้นง่ายๆ

ความสำคัญของการตรวจเลือดแมว

เรื่องสำคัญที่ทำให้น้องแมวทุกตัวควรผ่านการตรวจเลือด 3 ข้อหลักด้วยกัน

1. ตรวจเลือดแมว เพราะธรรมชาติของแมวจะเก็บอาการเจ็บป่วยไว้ไม่ให้ใครรู้ ตามสัญชาตญาณของนักล่าและผู้ถูกล่าในตัวค่ะ ดังนั้นทำให้กว่าจะเริ่มจับสังเกต จับอาการป่วยได้ ก็แสดงว่าอาการป่วยของเขามีมาซักพักใหญ่ๆ แล้ว ที่เห็นอาการเพราะป่วยระยะ 2 – 3 แล้ว ความเจ็บป่วยเพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว จนเก็บไว้ไม่อยู่

2. ตรวจเลือดแมว เพราะแมวมีโรคเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทั้งช่วงอายุ สายพันธุ์ ลองตรวจเลือดปีนี้อาจจะไม่เจอความผิดปกติ แต่อีก 3 ปีข้างหน้าอาจจะเจอโรคแปลกๆ ที่ฟ้องออกมาจากผลเลือดก็ได้ ซึ่งโรคที่เจอได้บ่อยจะแบ่งเป็นกลุ่มแมวเด็ก อายุยังน้อยไปจนถึงแมวแก่อายุมาก ดังนี้

  • กลุ่มแมวเด็ก : มักพบปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียบ่อย เนื่องจากอวัยวะภายในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ยังทำงานได้แบบไม่สมบูรณ์
  • กลุ่มแมวแก่ : มักพบปัญหาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ อาทิ ตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะปัญหาจากไต ดูจากภายนอกคุณจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าไตของน้องแมวกำลังเสียหายในระยะเริ่มต้น แต่กว่าจะรู้ กว่าจะแสดงอาการ หลายๆ เคสพบว่าค่าไตของเจ้าเหมียวสูญเสียการทำงานไปแล้วอย่างน้อย 60 – 75%

3. สำหรับใครที่เลี้ยงแมวเยอะๆ มีน้องแมวมากกว่า 2 ตัวในบ้านยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะโรคบางโรคสามารถแพร่จากแมวสู่แมวด้วยกันเองได้ ยิ่งบวกกับธรรมชาติของแมวที่มักจะเก็บความเจ็บป่วยเอาไว้ยิ่งทำให้ยากต่อการสังเกตอาการ ซึ่งโรคบางโรคไม่ได้ส่งผลแค่สุขภาพร่างกายของน้องแมวเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดความเครียดอีกด้วย

เหตุผลที่ควรตรวจเลือดเป็นประจำ

1. ตรวจเลือดแมว เพราะพฤติกรรมของแมว

เนื่องจากโดยธรรมชาติแมวเป็นสัตว์ที่เป็นทั้งผู้ล่าและเป็นผู้ถูกล่าในวงจรห่วงโช่อาหารตามธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อแมวเริ่มมีอาการป่วยหรือไม่สบาย แมวมักจะเก็บอาการ เพื่อป้องกันการถูกล่าตามในธรรมชาติ แสดงว่าเมื่อไรก็ตามที่แมวแสดงอาการป่วยให้เราเห็นย่อมหมายถึง อาการป่วยนั้นเกิดขึ้นมาในระยะเวลาหนึ่งแล้วและเป็นอาการป่วยที่เริ่มมีอาการรุนแรง ดังนั้นการตรวจเลือดและสุขภาพแมวเป็นประจำทำให้เราคอยเฝ้าระวังและตรวจสอบอาการป่วยที่แอบแฝงของแมวได้เบื้องต้น

2. ตรวจเลือดแมว เพราะโรคที่แตกต่างกันของแมวในแต่ละวัย

ในแต่ละวัยของแมวโรคที่พบจะมีความแตกต่างกัน โดยในแมวที่มีอายุน้อยมักพบปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในแมวเด็กการทำงานของระบบภูมคุ้นกันยังไม่สมบูรณืดี ทำให้แมวเด็กไวต่อการติดเชื้อ ดังนั้นการนำลูกแมวที่เลี้ยงมาตรวจเลือดและสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำ ส่วนในแมวที่มีอายุมากมักพบปัญหาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะ ไต แมวมักไม่พบการแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสียหายเล็กน้อย แต่เมื่อพบแมวแสดงอาการมักพบว่าไตของแมวได้สูญสียการทำงานไปแล้วอย่างน้อย 60-75% ดังนั้นในแมวที่มีอายุมากจึงแนะนำการตรวจสุขภาพและตรวจเลือดทุกๆ 6 เดือน เพื่อที่จะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกายได้ไวขึ้น เพื่อที่จะได้ทำการรักษา การเฝ้าระวังแก่เจ้าของ

3. ตรวจเลือดแมว เพราะการเลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว

ในไทยมักพบการเลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว ทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่แมวจะเกิดการแพร่เชื้อโรคให้แก่กัน หรือ โรคที่มีปัจจัยโน้มนำมาจากความเครียดเมื่อเลี้ยงรวมกันหลายตัว การนำแมวมาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและตรวจเลือดแมวจึงจำเป็นเพื่อที่จะได้พบปัญหาแอบแฝงในแมวแต่ละตัวได้ อย่างที่กล่าวข้างต้น แมวมักหลบซ่อนอาการป่วย

ตรวจเลือดแมว

ประโยชน์ของการตรวจเลือดแมว

  • ช่วยเพิ่มโอกาสในการวินิจฉัยเจอภาวะป่วยที่อาจแฝงอยู่ในร่างกายก่อนสัตว์เลี้ยงแสดงอาการ
  • กรณีตรวจเจอความผิดปกติสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายได้เร็วยิ่งขึ้น
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาดูแลเมื่อเทียบกับการตรวจรักษาหลังจากสัตว์เริ่มแสดงอาการของโรคแล้ว
  • ช่วยให้สัตวแพทย์สามารถวางแผนจัดการป้องโรคที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงและเจ้าของได้เป็นอย่างดี

การเตรียมตัวก่อนพาแมวไปโรงพยาบาล

แมวหลายๆ ตัวต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลสัตว์ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีน ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือดแมว ผ่าตัดทำหมัน หรือขูดหินปูน เป็นต้น ซึ่งการพาน้องเหมียวขึ้นรถไปโรงพยาบาล มักเป็นประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเกิดอาการเมารถ หรือความเครียดจากกลิ่นที่ไม่คุ้นเคย เมื่อไปโรงพยาบาลยังเจอเจ้าตูบที่คอยจะขย่ำ และคุณหมอที่ฉีดยาให้แล้วเจ้าเหมียวแทบสติแตกทุกตัว จึงต้องเตรียมพร้อมก่อนพาแมวไปโรงพยาบาล

การเตรียมตัว

1. ตัวแมวเองหากมีนัดกับคุณหมอ ต้องตรวจสอบว่าน้องเหมียวต้องงดน้ำหรืออาหารเพื่อตรวจเลือดแมว หรือผ่าตัดหรือไม่ และต้องเริ่มให้งดตั้งแต่เมื่อไร น้องเหมียวบางตัวชอบออกไปเที่ยวนอกบ้านกว่าจะกลับมา อาจเลยเวลานัดของคุณกับหมอไปเสียแล้ว ต้องรู้ธรรมชาติของเขาว่าจะกลับมาเมื่อไร หรืออาจต้องใช้วิธีการหลอกล่อ เช่น อาหาร หรือของเล่น บางครั้งกว่าจะหาตัวเจอก็ยากมาก อาจต้องมางดน้ำและอาหารที่โรงพยาบาลแทน

2. ตะกร้าใส่แมว ถ้าอุ้มแมวมาที่โรงพยาบาลเฉยๆ อาจจะตกใจกลัวกระโดดหนีหายไปต่อหน้าต่อตา หรือโดนเจ้าตูบขย่ำเอาระหว่างการตรวจ ควรนำแมวใส่ตะกร้าไปโรงพยาบาลทุกครั้ง ไม่สามารถบอกได้ว่าตะกร้าแบบใดถึงจะดีที่สุด แต่มีวิธีแนะนำดังนี้

  • เลือกตะกร้าที่แข็งแรง ทำความสะอาดง่าย ไม่เล็กจนอึดอัด หรือไม่ใหญ่จนจับแมวออกมาได้ยาก ควรมีถาดรองด้านใน เพื่อรองรับสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น อาจจาระหรือปัสสาวะ ในตะกร้าบางแบบอาจไม่มีถาด สามารถประยุกต์ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือแผ่นรองปูให้น้องเมียวได้
  • ลดความเครียดจากกลิ่นของตะกร้าที่ไม่คุ้นเคย ต้องวางตะกร้าไว้ทำเหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้าน แต่หากเพิ่งซื้อตะกร้ามาใหม่ อาจต้องใช้ผ้าผืนที่มีกลิ่นของเจ้าของที่แมวชอบใส่เข้าไปด้านใน หรือเอาผ้าขนหนูที่ถูหน้าและตัวแมวแล้วเอาใส่ในตะกร้า สุดท้ายอาจต้องพึ่งสเปรย์คลายเครียดที่ผลิตมาจากต่อมข้างจมูกแมว แต่ถ้าหาซื้อไม่ได้ อาจใช้ catnip หรือต้นตำแยแมวช่วยคลายเคลียดแทน แต่วิธีนี้อาจไม่เหมาะหากแมวต้องงดน้ำหรืออาหาร
  • แมวบางตัวเครียดมากจนไม่ยอมลงไปในตะกร้า อาจต้องใช้ผ้าขนหนูห่อม้วนตัวเจ้าเหมียวแล้วจับลงตะกร้าก่อนพาขึ้นรถ
  • นำตะกร้าแมววางบนพื้นรถที่เบาะด้านหลัง ขับรถอย่างระมัดระวังอย่าให้กระทบกระแทกมากเพราะอาจทำให้แมวเมารถและเจียนออกมา การเปิดเพลงเสียงดังในรถจะยิ่งทำให้แมวเครียดมากขึ้น
  • ใช้ผ้าผืนใหญ่คลุมปิดตะกร้าไว้ จะช่วยทำให้แมวสงบขึ้น
  • การถือตะกร้าแมว อย่าถือตะกร้าให้กระแทกกับสีข้างลำตัวของผู้ถือ เพราะจะทำให้แมวตกใจได้เมื่อถึงโรงพยาบาล
  • ควรชั่งน้ำหนักแมวทุกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับคุณหมอ หากมีสัตว์อื่นในบริเวณนั้นมาก หรือแมวกำลังตกใจกลัวสุดขีด อาจต้องชั่งน้ำหนักทั้งตะกร้าแล้วค่อยหักลบน้ำหนักตะกร้าออกทีหลัง หลังจากนำแมวเข้าตรวจแล้ว
  • ระหว่างรอคุณหมอ ควรฝากแมวไว้ในมุมเงียบๆ ของโรงพยาบาล และเอาผ้าคลุมไว้เพื่อให้แมวรู้สึกสงบและผ่อนคลาย ก่อนจะขึ้นโต๊ะตรวจร่างกายกับคุณหมอต่อไป

อาหารที่เป็นประโยน์ต่อแมว

หลังการตรวจเลือดแมวหรือช่วงที่แมวป่วย แมวควรได้กินอาหารที่คุณภาพดี ตอบโจทย์การใช้ชีวิต อายุ และสุขภาพ ปัจจุบันมีอาหารแมวในท้องตลาดทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  • อาหารแบบเปียก มักจะจำหน่ายในรูปแบบกระป๋องหรือซอง  เป็นเนื้อสัตว์ในซอสเกรวี่หรือเจลลี่ อาหารแมวแบบเปียกเหมาะมาก ถ้าแมวของคุณไม่ค่อยดื่มน้ำหรือมีปัญหาโรคไต
  • อาหารเม็ด บางครั้งก็จะเรียกว่าอาหารแห้ง พัฒนามาเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากแมวด้วย อาหารชนิดนี้สามารถตวงให้เหมาะสมในแต่ละมื้อได้
  • อาหารเสริมอาจรวมถึงขนมสำหรับแมว  อาหารประเภทนี้เหมาะกับการให้ควบคู่กับอาหารหลัก และห้ามใช้แทนอาหารหลักโดยเด็ดขาดเพราะอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามความต้องการของแมว

 

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ essexrotary.com
สนับสนุนโดย  ufabet369